บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการตรวจยีน ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557 โดยให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพันธุกรรม ที่ครอบคลุมโรคทางพันธุกรรมชนิดต่าง ๆ มุ่งเน้นการวินิจฉัยถึงต้นเหตุของการเกิดโรค เพื่อการรักษาและการป้องกันที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยเป้าหมายที่จะสร้าง บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ของคนไทยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

(World Class Biotechnology Company) โดยนำข้อมูลทางพันธุกรรมที่มีประโยชน์และจำเป็น มาใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค และการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์ทางการแพทย์อย่างสูงสุด

นอกจากบริษัทฯ จะให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย การรักษาแล้ว บริษัทยังเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัยโรค ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูง ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทยและทั่วโลก

ในปัจจุบัน บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด เปิดให้บริการการตรวจทางพันธุกรรมมาเป็นเวลามากกว่า 8 ปี ด้วยความพร้อมทั้งด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยที่พรั่งพร้อม และมีการเติบโตขยายงานและมีการเปิดสาขาไปยังภูมิภาคต่างๆอีก 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น พิษณุโลก  ชลบุรี และ นครราชสีมา เพื่อรองรับงานด้านสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อประชาชนและประเทศชาติ โดยในช่วง 5 ปีหลังทาง บริษัทฯ ได้ให้บริการการตรวจทางพันธุกรรมไปแล้วมากกว่าหนึ่งล้านห้าแสน (1,500,000) การทดสอบ นับว่าเป็นบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจทางพันธุกรรมเป็นอันดับต้น ของประเทศไทย


MISSION & VISION
Our Vision
– The World Class Biotechnology Company
มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

Our Mission
– Provide a health service based on biotechnology from cradle to grave
ให้บริการทางสุขภาพด้วยเทคโนโลยีชีวภาพตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา

Corporate Value
Professional
มืออาชีพ
Priority
จัดลำดับความสำคัญ
Public interest
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

การดำเนินธุรกิจ

2014

เริ่มก่อตั้งบริษัทให้บริการด้านการตรวจยีนความเสี่ยงโรคธาลัสซีเมีย การตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Diagnosis: PGD)

2015

เริ่มให้บริการ การตรวจคัดกรองตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Screening: PGS) การตรวจคัดกรองยีนความเสี่ยงโรคมะเร็งและการตรวจคัดกรองความผิดปกติโครโมโซมของทารกในครรภ์โดยใช้เลือดมารดา (NIPT)

2017

ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO15189: 2012 และความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ ISO15190: 2003 โดยสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

2019

ได้รับการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ (LA)
เริ่มพัฒนาและให้บริการด้าน Stem Cells โดยบริการ Stem Cells ของบริษัทฯมีจุดเด่นที่เป็นการใช้ Stem Cells ของตนเองในการใช้งานด้านต่างๆซึ่งมีความปลอดภัยสูงและปฏิบัติตามมาตรฐานของ International Society for Cell and Gene Therapy (ISCT)ในทุกขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงและการใช้ Stem Cells

2020

คิดค้นรถตรวจชีวนิรภัยเคลื่อนที่ซึ่งต่อมาได้ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นรถตรวจชีวนิรภัยพระราชทานพร้อมระบบสารสนเทศ(ต้นแบบ)แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

2021

เริ่มเปิดให้บริการสาขาภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น ได้รับการรับรองเป็นห้องปฏิบัติการเอกชนแห่งแรกของไทยที่ผ่านการทดสอบความชำนาญ (ProficiencyTesting หรือ PT) สำหรับการตรวจหาเชื้อ Covid-19 ในสิ่งแวดล้อมและน้ำเสีย(Wastewater) จากห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ielab ประเทศสเปนซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ให้บริการประเมินมาตรฐานความชำนาญในระดับนานาชาติ

2022

เริ่มให้บริการ  สาขาพัทยา , สาขาพิษณุโลก เป็นหนึ่งในสองห้องปฏิบัติการ ภาคเอกชนที่ได้รับคัดเลือกเป็นหน่วยบริการ ตรวจวิเคราะห์ ยีน BRCA1/2 ให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

มาตรฐานการปฏิบัติการ

ภายใต้การบริหารด้วยทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญมากด้วยประสบการณ์ ความสามารถ พร้อมทั้งความร่วมมือของพนักงานทุกภาคส่วนในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อ ประโยชน์ทางการแพทย์และการบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด ทำให้ บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐานมากมาย ดังนี้

คณะที่ปรึกษาทางการแพทย์

ศ.พญ. พรสวรรค์ วสันต์

ที่ปรึกษาด้านการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด และพันธุศาสตร์ทางคลินิก
  • พ.บ.,อ.ว.(กุมารเวชศาสตร์)
  • วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิบัตรหลังปริญญาเอกด้านพันธุศาสตร์ทางการแพทย์
    (Johns Hopkins) จากวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • เข้าร่วมเป็นสมาชิกวิทยาลัยการแพทย์พันธุศาสตร์ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย)
  • ประธานผู้ก่อตั้งประธานสมาคมพันธุศาสตร์มนุษย์แห่งเอเชียแปซิฟิก
  • ที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.ทนพ. สมเดช ศรีชัยรัตนกูล

ที่ปรึกษาด้านคุณภาพงานเทคนิคการแพทย์ และการตรวจทางคลินิก
  • วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
  • วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • ดุษฎีบัณฑิตด้านโลหิตวิทยา (มหาวิทยาลัยลอนดอน)
  • หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.ดร.สพญ. อารีย์ ทยานานุภัทร

ที่ปรึกษาด้านคุณภาพ และงานบริการ
  • สพ.บ., ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยมินนิโซตา
  • ฝึกอบรมด้านจักษุสัตววิทยา ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียเดวิสและมหาวิทยาลัยมินนิโซตา
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ.นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล

ที่ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์และมะเร็งวิทยา
  • อายุรศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร. ประพัฒน์ สุริยผล

ที่ปรึกษาด้านชีวสารสนเทศ
  • วิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ
  • หัวหน้าหน่วยชีวสารสนเทศและจัดการข้อมูลวิจัยศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR)
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.นพ. ศุภชัย เอกวัฒนกิจ

ที่ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์และโลหิตวิทยา
  • วท.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ปริญญาดุษฎิบัณฑิต (ภูมิคุ้มกันวิทยา), แพทยศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
  • ฝึกอบรมหลักสูตร Advance Molecular Hematology จาก Weatherall Institute of Molecular Medicine
    มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด
  • ว.ว.อายุรศาสตร์โรคเลือด
  • อาจารย์และที่ปรึกษาศูนย์ธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ดร.นพ. วรฉัตร เลิศอิทธิพร

ที่ปรึกษาด้านชีวสารสนเทศและชีวเคมีในมนุษย์
  • พบ., ปรด.(เวชศาสตร์ระดับโมเลกุล)
  • อาจารย์และที่ปรึกษาภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นายแพทย์สมพร คำผง

ที่ปรึกษาด้านการรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล
  • แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการแพทย์ สาขาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการแพทย์ สาขาเวชบําบัดวิกฤต
    มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (สหรัฐอเมริกา)
  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารคุณภาพโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (สหรัฐอเมริกา)
  • วุฒิบัตรผู้เชียวชาญสาขาการประกันคุณภาพและการบริหารทรัพยากรสุขภาพ (สหรัฐอเมริกา)
  • วุฒิบัตรบัณฑิตวิทยาลัยจากวิทยาลัยการบริหารบริการสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา

ดร.วรุตม์ ดุละลัมพะ

ที่ปรึกษาด้านเซลล์ต้นกำเนิด
  • ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (เวชศาสตร์ระดับโมเลกุล) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นักวิจัยหลังปริญญาเอก และผู้นำกลุ่มงานวิจัยโรคกล้ามเนื้อ Department of Gene Therapy and Regenerative Medicine, Vrije University Brussel, Belgium
  • ผู้จัดการงานวิจัยของโครงการวิจัย EU Horizon 2020 จาก สหภาพยุโรป
  • นักวิจัย ศูนย์ธาลัสซีเมีย และฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับนานาชาติ

Professor John Porter

Professor of Hematology
  • Department of Hematology, University College London Hospitals
  • Head of the Thalassemia and Sickle Cell Unit
John Porter is Professor of Hematology and Consultant Hematologist at the University College London Hospitals in London, UK and head of the joint Red Cell Unit for UCLH and Whittington Hospitals. He graduated from the University of Cambridge in 1974. He was awarded an FRCP by the Royal London College of Physicians in 1995 and an FRCPath in Hematology by the Royal College of Pathologists in 1996. He was awarded the Lionel Whitby Medal for MDs with exceptional merit.

The treatments of thalassemia and sickle cell disorders have been Professor Porter’s main clinical and research fields, with particular reference to iron overload in these conditions. He has received funding from many sources including the Medical Research Council (MRC), the Welcome Foundation and National Institutes of Health (NIH) for this work. His research has focused on the mechanisms of iron chelation, the speciation and uptake of non-transferrin-bound iron (NTBI) species and their relevance to iron mediated toxicity, the molecular basis of iron homeostasis in health and disease, and the actions and toxicities of mixed-ligand chelation therapy. Ongoing clinical studies aim to clarify the importance of NTBIs in the monitoring and design of deferoxamine regimens, the reversal of cardiac dysfunction with chelation regimens, the role of red cell microvesiculation in the prothrombotic state, and the treatment of bone disease in thalassemia. Professor Porter is also the principal UK investigator in the ongoing multicenter randomized controlled trials of the orally active iron chelator deferasirox. Professor Porter has published more than 150 peer-reviewed articles. He has also made numerous contributions to books, as well as clinical guidelines and other medical articles.
Professor Porter has served as scientific adviser to the British Society of Hematology, the UK Thalassemia Society, the Thalassemia International Federation (TIF), and to grant review and advisory panels at the NIH in Bethesda, MD, USA. He is a consultant and co-investigator for the Thalassemia Clinical Research Network, also at the NIH.

Professor Ali Taher

Professor of Medicine, Hematology & Oncology
  • Division of Hematology-Oncology, Department of Internal Medicine
    American University of Beirut Medical Center
  • Associate Chair of Research, Department of Internal Medicine
  • Director of Fellowship and Residents Research Program

Dr. Ali Taher is Professor of Medicine at the Division of Hematology-Oncology of the American University of Beirut Medical Center, Lebanon, where he is also Associate Chair for Research. In addition, he is a Consultant Hematologist at the Thalassemia Department of the Chronic Care Center in Hazmieh, Lebanon, and a fellow of the Royal College of Physicians.
Dr. Taher has been active nationally and internationally in the fields of thalassemia and thrombosis research for over 20 years. He has shown leadership in creating local and regional scientific interest groups and associations that promote partnership in science and dissemination of knowledge both to physicians and the community.
Dr. Taher has published more than 300 peer-reviewed original articles in leading international hematology journals including Blood. He is also an author of three textbook chapters, an editor of the Thalassemia International Federation Treatment Guidelines for thalassemia, a reviewer for the top ten hematology journals, and an associate editor of the journal Hemoglobin. He is a regular chair and invited speaker at national and international meetings including EHA, GIS, and others. He is also among the faculty of the European School of Hematology.
Dr. Taher is the principal investigator (PI) on several clinical trials studying the novel oral iron chelator deferasirox and one of the PIs on the National Institutes of Health-funded TCRN trials. Dr. Taher is also a pioneer in bringing forth new treatment strategies such as JAK2 inhibitors for patients with thalassemia and other diseases, and novel iron chelators.

Professor Maria Domenica Cappellini
Professor of Internal Medicine

  • Foundation IRCCS Ca’ Granda, Ospedale Maggiore Policlinico
  • Internal Medicine, Hereditary Anemia Centre University of Milan
Born in Milan at June 1949. Graduated in Medicine, at Milan in 1974. Specialized in Gastroenterology in 1978. Specialized in Hematology in 1981. Stage at the Pasteur Institute in Paris in 1975.

Stage at Institute vor Anthropogenetica “Dept of Human Genetics” University of Leiden in 1976. From September 1981 to December 1982 Research Fellow at MRC, Molecular Hematology Unit, John Radcliffe Hospital, Oxford University.
Visiting Scientist of the same Unit for short period in 1983, 1984, 1985, 1987 for cooperative project. Associate Professor and since March 2002 full Professor of Internal Medicine at the University of Milan. Member of Italian Society of Hematology.
Member of Italian Society of Internal Medicine. Member of the Editorial Board of Hematologica. She performed researches on hereditary disorders of Red Blood Cells with particular interest for Thalassemia, RBC enzyme deficiency and Porphyrias.
She developed long term erythroid tissue culture techniques to study the hemoglobin switching and the induction of Hb F by different compounds. She published more than 100 peer reviewed papers, invited speaker to several national and international meetings.

ใบรับรองระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์

บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด  ได้รับการตรวจรับรองระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยสภาเทคนิคการแพทย์

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามาตารฐาน ISO 15189 : 2022

คลินิกเทคนิคการแพทย์วิประกษิต (บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO 15189 : 2022 และข้อกำหนดและเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการตามรายการและวิธีทดสอบที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายในด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามาตารฐาน ISO 15190 : 2020

คลินิกเทคนิคการแพทย์วิประกษิต (บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO 15190 : 2020 และข้อกำหนดและเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการในด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์