สมุนไพรแรก “ฟ้าทลายโจร” ที่ทางแพทย์กระทรวงสาธารณสุขให้การรับรองว่า สามารถช่วยรักษาโรคโควิด-19 ได้และพบว่ากลไกต้านไวรัสของฟ้าทะลายโจรมีการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์รวมถึงลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันสู้กับไวรัส  


ไม่ควรทานยาฟ้าทะลายโจรติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น ท้องอืด,อาหารไม่ย่อย,แขนขาไม่มีแรง จึงไม่ควรทานฟ้าทะลายเกิน 7 วัน หากกินไป 3 วันแล้วอาการต่างๆ ยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างตรงจุด

สมุนไพรตัวที่ 2 “ขิง” มีรสที่เผ็ดร้อน เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน พบว่ามีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระจากการศึกษาพบว่าที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ได้ เนื่องจาก ขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน หากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากก็จะสามารถทำให้เยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบ จนเป็นอาการร้อนในได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานขิงมากจนเกินไป

สมุนไพรตัวที่ 3 “มะขามป้อม” มีวิตามินซีที่สูง ใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ ช่วยเสริมการทำงานระบบภูมิกันและมีสารสำคัญที่สามารถจับกับขาโปรตีนของไวรัสโควิด-19 และเป็นตัวรับ ACE2 ที่มีบทบาทการผ่านเข้าเซลล์ปอด เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เย็น เมื่อกินเข้าไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง การกินมะขามป้อมต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรตัวที่ 4 “ขมิ้นชัน”  พบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน Demethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่จะเข้าสู่เซลล์ปอด และมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ โดยทั่วไปขมิ้นมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้หรือรับประทาน แต่ในบางรายอาจมีอาการท้องเสีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือปวดท้อง ผู้ที่เป็นนิ่วในท่อน้ำดีหรือมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหยุดใช้ขมิ้นรูปแบบต่าง ๆ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

สมุนไพรตัวที่ 5 “กระชายขาว”  สมุนไพรคนไทยอย่างเราๆคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารหลายอย่าง มีรสชาติที่เผ็ดร้อน มีสรรพคุณ บำรุงเส้นผม , 
 บำรุงสมองแก้วิงเวียน, บำรุงกำลังให้ความสดชื่น,แก้ริดสีดวง นอกจากนี้ยังมีการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่รวมมือกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้ศึกษาวิจัย “กระชายขาว” พบว่าสารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งมีสารสำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ Pandulatin A และ Pinostrobin สารทั้ง 2 ตัวนี้  สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 ได้รวมถึงลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อจาก 100% ให้ลดลงจนเหลือ 0%  หากการรับประทานในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เลือดหนืด อาจส่งผลให้รู้สึกหมดแรง และป่วยเป็นโรคอื่นๆ ตามมาได้

สมุนไพรตัวที่ 6 “พลูคาว” มีสรรพคุณ สามารถใช้รักษาอาการไอและช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้  รวมถึงมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของเเผล และต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราต่างๆได้ 
การรับประทานพลูคาวมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ อาเจียน หายใจสั้นและถี่ และอาจเป็นอันตรายได้ หรือหากนำมาใช้เป็นยารักษาภายนอกมากเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังโดยมีอาการเกิดผื่นคันหรือแผลพุพองได้

สมุนไพรตัวที่ 7 “หูเสือ” เป็นสมุนไพรที่สามารถทานเป็นอาหารได้ เพราะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณใช้ในการแก้หวัด แก้ไอ แก้คออักเสบ แก้หอบหืด ช่วยขับลม ลดอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อยได้  ไม่ควรรับประทานส่วนต่างๆของต้นหูเสือทั้งรับประทาน แบบสดๆหรือแบบบบผลิตภัณฑ์ต่างๆมากกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

สมุนไพรตัวที่ 8 “กะเพรา” เป็นสมุนไพรคู่บ้านของคนไทยเลยก็ว่าได้ สามารถเป็นได้ทั้งยาสมุนไพร เเละนำมาประกอบอาหารก็ได้ประโยชน์มากได้เช่นกัน มีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันในร่างกาย และลดน้ำตาลในเลือดได้รวมถึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค การรับประทานกะเพราระยะสั้นอาจปลอดภัยต่อสุขภาพแต่ไม่ควรบริโภคกะเพราติดต่อกันเป็นเวลานาน เพื่อรักษาปัญหาสุขภาพ เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อมูลทางการแพทย์ว่าจะปลอดภัยและควรหยุดบริโภคหรือใช้กะเพราก่อนวันเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เนื่องจากกะเพรามีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เสี่ยงเลือดออกมากขึ้นระหว่างและหลังผ่าตัดได้

สมุนไพรตัวที่ 9  “สมอไทย” เป็นสมุนไพรที่มีรสชาติหลากหลายใน 1 ผล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน เเละยังมีสัมผัสของความขม มีสรรพคุณ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยเเก้อาการอ่อนเพลียได้ ส่วนเมล็ดช่วยให้เจริญอาหาร ไม่มีผลค้างเคียงในการกิน รวมถึงการศึกษาทางพิษวิทยาของสมอไทย โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

สมุนไพรตัวที่ 10 “สมอภิเภก” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ผลัดใบ พบได้ทั่วไปตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคกลาง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก สรรพคุณ ผลสมอภิเภกเเห้ง ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอ ได้อย่างดี และ ช่วยบำรุงร่างกาย กระตุ้นให้เจริญอาหาร ผลอ่อนของสมอภิเภกจะมีรสเปรี้ยว ช่วยเเก้ไข้ได้ดี  เป็นสมุนไพรกลุ่มที่ช่วยเรื่องการไหลเวียนของโลหิต เเก้วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน หากรับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน ผลหากใช้รับประทานมากๆ จะเป็นยาเสพติดและทำให้หลับได้

สมุนไพรที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่หยิบยกตัวอย่างแค่บางส่วนเท่านั้น  ตอนนี้เราก็สามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด19 ในระดับหนึ่งได้แล้วเพียงรับประทานสมุนไพรอยู่ที่บ้านโดยไม่ต้องพึ่งยาปฏิชีวนะ