ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก
ปล่อยรังสีเบต้า และแกมม่า ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็ง
ความอันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี ได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี ชนิดของรังสีที่ได้รับ
การได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเชียม-137 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายที่ชัดเจนในทันทีแต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้ หากได้รับซีเซียม-137 จากการหายใจ รับประทานหรือผิวหนัง เข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนของอวัยวะต่างๆ แผ่รังสีให้แก่อวัยวะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
เมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 อาการที่พบคือ
– ไข้
– คลื่นไส้
– อาเจียน
– เบื่ออาหาร
– ถ่ายเหลว
– ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง
– ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส ซีเซียม 137
ลดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า ใส่ถุงปิดป่ากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่
ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนด ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย
การป้องกันและการปฏิบัติตน
– หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กต้องสงสัย
– ถ้าอยู่ในที่เกิดเหตุให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่กำหนด
– รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนนำไปใช้
– ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
– ติดตามข้อมูลสถานการณ์การเกิดเหตุ และปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด
หากพบความผิดปกติของร่างกายที่สงสัยว่าอาจโดนรังสี หรือมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ควรพบแพทย์ทันที หรือหากยังไม่มีอาการ แต่ไม่สบายใจมีความกังวลว่าอาจได้รับอันตรายแนะนำให้มาตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจเลือด เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัย