เทโลเมียร์ คือ ส่วนปลายของแท่งโครโมโซมซึ่งเปรียบเสมือนเป็นนาฬิกาแห่งชีวิต จากงานวิจัยในปัจจุบันพบว่าการหดสั้นลงของเทโลเมียร์จะพบในเซลล์ที่เสื่อมสภาพทำงานไม่ได้ แสดงว่า”เทโลเมียร์ที่สั้น” มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความเสื่อม (Age-related Diseases)หาก “เทโลเมียร์ยังมีขนาดยาว” จึงสัมพันธ์กับสภาวะร่างกายของเราที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ



บุคคลที่มีเทโลเมียร์สั้น จะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงเป็นโรคต่างๆได้ง่ายกว่าคนอื่น โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม

ในทุกๆครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัวเทโลเมียร์จะหดสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อเทโลเมียร์สั้นถึงจุดๆ หนึ่งที่เรียกว่า จุดวิกฤติ (Crisis Point) เซลล์จะถูกผลักดันให้เข้าสู่ภาวะแก่ตัว (Senescence) ถึงเซลล์จะยังคงมีชีวิตอยู่ แต่จะทำงานลดลงและแบ่งตัวไม่ได้แล้วในทางตรงกันข้ามเมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นให้เทโลเมียร์ยาวขึ้นพ้นจุดวิกฤติ เซลล์จะสามารถแบ่งเซลล์และทำหน้าที่ได้ตามปกติ

โรคที่สัมพันธ์กับเทโลเมียร์สั้น

ความยาวเทโลเมียร์ที่สั้นลง เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายที่สัมพันธ์กับความเสื่อมได้มากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสัน เป็นต้น

นอกจากนี้การที่มีเทโลเมียร์สั้น อาจส่งผลต่ออัตราการฟื้นตัวของร่างกายอีกด้วย เช่น

-ทำให้มีความสามารถในการซ่อมแซมอวัยวะต่ำ

-มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 3 เท่า

-มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าคนปกติ 8 เท่า

การวัดความยาวเทโลเมียร์มีประโยชน์อย่างไร?

การมีอายุที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ นอกจากนี้ลูกหลานต่างต้องการให้ญาติผู้ใหญ่ของตนนั้นมีชีวิตที่ยืนยาว ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีที่จะชะลอวัยที่ดีและมีประสิทธิภาพตรงจุด การตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์ จึงเป็นการประเมินสภาวะของร่างกายและใช้ในการติดตามผลการดูแลสุขภาพได้ดี