1.เนื้อ หมู ปิ้งย่าง
เนื้อวัวและเนื้อหมูเป็นสัตว์ที่มีสารประกอบฮีโมโกลบิน ที่เรียกว่าฮีม หากรับประทานปริมาณมากจะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เติบโต รวมถึงการปิ้งย่างยังเป็นวิธีปรุงที่ก่อให้เกิดสารโพลีไซคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
อีกหนึ่งเมนูที่มีการใช้วิธีปรุงสุกจากการใช้น้ำมันทอดในอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน ทำเกิดสารโพลีไซคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะของทอดที่ใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำหลายๆ ครั้ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงทั้งโรคมะเร็งและโรคอ้วน
3.ส้มตำปลาร้า สุดแซ่บ
การทานส้มตำปูปลาร้าที่ใช้ ปลาร้าดิบ อาจมีการใส่ดินประสิวเพื่อใช้ในการถนอมอาหาร ซึ่งจะมีสารไนโตรซามิน เป็นสารก่อมะเร็งที่มีความรุนแรง จึงควรหลีกเลี่ยงการจะรับประทานปลาร้าดิบๆ เพื่อไม่ให้เพิ่มความเสี่ยง
4.ยำรสเด็ด จัดจ้าน
เมนูยำต่างๆ เช่นยำแหนม ยำไส้กรอก ยำมาม่า ล้วนเต็มไปด้วยของแปรรูปและหมักดอง มีโอกาสปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากอาหารแปรรูปเต็มไปด้วยสารกันบูด โซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
5.อาหารดิบ
อาหารทะเลดิบหรือสดจะเสี่ยงในการปนเปื้อนสารฟอร์มาลินจากการเก็บรักษา ส่งผลเสียกับระบบการทำงานของตับ ไต และหัวใจ ที่สำคัญเสี่ยงต่อการได้รับสารโลหะหนัก เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งได้ ควรผ่านการปรุงสุกด้วยการต้มหรือนึ่ง หลีกเลี่ยงการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม
เลือกทานอาหารให้ปลอดภัยและอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเพิ่มสารก่อมะเร็งและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
สนใจบริการตรวจสุขภาพสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Inbox หรือ LINE: @atgenes
โทร 02-0731411 , 085-6242296